ชิน มาสค์ไรเดอร์
ชิน มาสค์ไรเดอร์ Shin Kamen Rider เป็นภาพยนตร์ซูเปอร์ฮีโร่ของญี่ปุ่นปี 2023 ที่กำกับและเขียนบทโดย Hideaki Anno เป็นการรีบูตของแฟรนไชส์คาเมนไรเดอร์ และผลิตขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีของซีรีส์ ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดย Sosuke Ikematsu ในบท Takeshi Hongo ชายหนุ่มที่กลายเป็นซูเปอร์ฮีโร่ที่มียศฐาบรรดาศักดิ์หลังจากสัมผัสกับสารลึกลับ เขาต้องใช้พลังใหม่ของเขาเพื่อต่อสู้กับกลุ่มสัตว์ประหลาดที่รู้จักกันในชื่อ Shocker
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีภาพที่สวยงามตระการตาและเต็มไปด้วยแอ็คชั่น ชิน มาสค์ไรเดอร์ เอฟเฟ็กต์พิเศษนั้นยอดเยี่ยม ชิน มาสค์ไรเดอร์ และฉากต่อสู้ได้รับการออกแบบท่าเต้นอย่างดีและน่าตื่นเต้น ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังประกอบด้วยตัวละครที่แข็งแกร่ง โดย Ikematsu จะแสดงเป็น Takeshi Hongo ได้อย่างยอดเยี่ยม
อย่างไรก็ตามภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ปราศจากข้อบกพร่อง โครงเรื่องค่อนข้างซับซ้อน และหนังอาจเดินเรื่องช้าในบางครั้ง นอกจากนี้ โทนมืดและรุนแรงของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจไม่ถูกใจทุกคน
โดยรวมแล้ว Shin Kamen Rider เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาอย่างดีและให้ความบันเทิง ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องถูกใจแฟน ๆ ของแฟรนไชส์ Kamen Rider อย่างไรก็ตาม มันไม่ได้ปราศจากข้อบกพร่อง และอาจไม่ถูกใจทุกคน
เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 2565 Toei Company ได้ฤกษ์ยามงามดี เปิดตัวโครงการหนัง Shin Kamen Rider อย่างเป็นทางการ ที่ถือว่าเป็นหนึ่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี ของซีรีส์ชุด Kamen Rider อีกด้วย อีกทั้งยังได้มีการประกาศรายชื่อนักแสดงนำ ที่จะมารับบทในฉบับหนังใหญ่เรื่องนี้ นั่นก็คือ โซสึเกะ อิเกะมัตสี นักแสดงหนุ่ม วัย 31 ปี ที่เข้าวงการ มาตั้งแต่วัยเด็ก เคยเล่นหนังฮอลลิวูด อย่าง The Last Samurai และ หนัง Shoplifters รางวัลน้ำดีอีกด้วย โดยเขาจะมารับบทเป็น คาร์เมนไรเดอร์ และ ทาเคชิ ฮอนโก
Shin Kamen Rider ได้นักแสดงสาว มินามิ ฮามาเบะ มารับบทเป็น รูริโกะ มิโดริกาวะ
ในขณะที่นักแสดงสาว มินามิ ฮามาเบะ จากภาพยนตร์ดัง Let Me Eat Your Pancreas ที่คว้าบทแสดงนำหญิง รับบทเป็น รูริโกะ มิโดริกาวะ ลูกสาวของศาสตราจารย์ มิโดริกาวะ อดีตนักวิทยาศาสตร์ขององค์กร ช็อกเกอร์ ที่กลายมาเป็นเพื่อนร่วมการต่อสู้กับองค์กร ช็อกเกอร์ ของทาเคชิ นั่นเอง Shin Kamen Rider เวอร์ชั่นหนังใหญ่เรื่องนี้ได้ผู้กำกับชื่อดัง ฮิเดอากิ อันโนะ จาก “Evangelion 3.0 + 1.0 Thrice Upon a Time และ Shin Godzilla มาดูแลงานสร้าง และ รับหน้าที่เขียนบทหนังเรื่องนี้ด้วย ที่เบื้องต้นคาดว่า จะเป็นการหยิบเอาหนัง ต้นฉบับ ในปี 1971 มาดัดแปลงขึ้นใหม่ แต่อาจจะยังคงเอกลักษณ์คลาสสิกเดิมเอาไว้ ที่เป็นจุดเด่นของเรื่อง เว็บดูหนังออนไลน์ฟรี 24 ชั่วโมง เป็นแนวถนัด ในงานสร้างของผู้กำกับผู้นี้ เป็นอย่างดี
ได้ปล่อยทีเซอร์ออกมายั่วแฟน ๆ ด้วย แบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชั่น
นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตได้ปล่อยทีเซอร์ออกมายั่วแฟน ๆ ด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2 เวอร์ชั่น แต่ทีเซอร์ยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดใด ๆ เกี่ยวกับหนัง เป็นเพียงภาพของ คาเมนไรเดอร์ ออกมาขับมอเตอร์ไซค์คู่กาย และ โชว์ลีลาผาดโผนต่าง ๆ ชิน มาสค์ไรเดอร์ ที่เผยให้เห็นเครื่องแต่งกายเท่ ๆ คลอไป กับ เพลงประกอบที่คุ้นหู ก่อนจะปิดท้ายด้วยการ ปรากฏตัวของวายร้าย ปีศาจแมงมุม ออกมานั่นเอง
คือภาพยนตร์ฉลองครบรอบ 50 ปีของซีรีส์ Kamen Rider และเป็นภาพยนตร์ลำดับที่ 3 จากภาพยนตร์ชุด Shin ที่หยิบนำผลงานฮีโร่โทคุซัทสึสุดคลาสสิกจากญี่ปุ่นมารีบูตใหม่ โดยได้ ฮิเดอากิ อันโนะ ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ Shin Godzilla (2016) และ Shin Ultraman (2022) มานั่งแท่นผู้กำกับและเขียนบท
โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการหยิบนำซีรีส์ Kamen Rider ที่ออกฉายในปี 1971 มาตีความใหม่ บอกเล่าเรื่องราวของ ฮอนโก ทาเคชิ (โซสึเกะ อิเคมัตสึ) หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยที่ถูกองค์กร Shocker ลักพาตัวมาและผ่าตัดเขาให้กลายเป็นมนุษย์ดัดแปลงสุดแกร่ง เพื่อใช้เขาเป็นอาวุธในการครอบครองโลก แต่เขาก็ได้รับความช่วยเหลือจาก รุริโกะ มิโดริคาวะ (มินามิ ฮามาเบะ) มนุษย์ดัดแปลงที่ทรยศต่อ Shocker จนหนีออกมาได้สำเร็จ ทั้งคู่จึงร่วมมือกันเพื่อขัดขวางแผนการร้ายขององค์กร Shocker
หากนับภาพยนตร์ชุด Shin ทั้ง 3 เรื่องที่ผ่านมา ได้แก่ Shin Godzilla ซึ่งเป็นผลงานการกำกับร่วมกันระหว่าง ฮิเดอากิ อันโนะ และ ชินจิ ฮิงุจิ, Shin Ultraman กำกับโดย ชินจิ ฮิงุจิ และ Shin Kamen Rider ของ ฮิเดอากิ อันโนะ ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า Shin Kamen Rider น่าจะเป็นผลงานที่เราชอบน้อยที่สุด
เอาเข้าจริงๆ Shin Kamen Rider นับว่าเป็นผลงานที่อุดมไปด้วยองค์ประกอบที่มีเสน่ห์และชวนติดตามไม่แพ้สองผลงานก่อนหน้า ไล่เรียงตั้งแต่การออกแบบคาแรกเตอร์ที่เท่ มีเสน่ห์ ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของต้นฉบับไว้ได้อย่างครบถ้วน ทั้งมุมกล้อง การใช้ซาวด์เอฟเฟกต์ และดนตรีประกอบที่แฟนๆ ทุกคนคิดถึง บวกด้วยการออกแบบมุมกล้องและกลวิธีนำเสนอที่แปลกตา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้กำกับ
รวมไปถึงการตีความเรื่องราวขึ้นมาใหม่เพื่อยกระดับให้ภาพยนตร์มีความสมจริงสมจังและเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นกว่าต้นฉบับ โดยเฉพาะการตีความองค์กร Shocker ขึ้นมาให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น พร้อมกับประเด็นสำคัญที่ชวนเราตั้งคำถามว่ามนุษย์เราต้องการแค่ ‘ความสุข’ จริงหรือ
ด้วยองค์ประกอบอันโดดเด่นเหล่านี้ จึงทำให้ในช่วงครึ่งแรกของเรื่องเต็มไปด้วยเรื่องราวและฉากแอ็กชันที่สมจริง ตื่นตาตื่นใจชวนติดตาม ไม่ว่าจะเป็นฉากแปลงร่างครั้งแรกของฮอนโก การต่อสู้ระหว่าง Kamen Rider และปีศาจแมงมุมที่ดุดัน รุนแรง (ขนาดที่ต่อยกันเลือดสาด) การปูเรื่องราวให้เราได้รู้จักกับองค์กร Shocker ไปจนถึงรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างที่มาที่ไปของผ้าผูกคอสีแดงที่เราคุ้นตาเป็นอย่างดี
แต่เมื่อตัวภาพยนตร์ดำเนินมาถึงกลางเรื่องเป็นต้นมา
ก็ดูเหมือนว่าจุดเด่นเหล่านั้นกลับไม่ได้ถูกหยิบมาใช้อย่างเต็มที่ จนทำให้กราฟความน่าติดตามของเรื่องค่อยๆ ลดน้อยถอยลงไปเรื่อยๆ
ข้อสังเกตประการแรก (และเป็นข้อที่คล้ายกับ Shin Ultraman) คือการที่ทีมสร้างใส่ฉากแอ็กชันและตัวร้ายเข้ามามากเกินไป โดยหากนับตั้งแต่ฉากเปิดเรื่องจนจบ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีฉากแอ็กชันคร่าวๆ ประมาณ 6-7 ฉาก
แต่แทนที่ฉากแอ็กชันเหล่านั้นจะเข้ามาเสริมให้ตัวภาพยนตร์สนุกสนานมากขึ้น มันกลับส่งผลอย่างมากต่อ ‘ความต่อเนื่อง’ ของการดำเนินเรื่องที่ถูกขัดจังหวะอยู่บ่อยครั้ง และยังทำให้ภาพยนตร์มีเวลาในการพาผู้ชมไปสำรวจปมปัญหาของตัวละคร (ที่ถูกปูไว้อย่างน่าสนใจตั้งแต่แรก) น้อยลงตามไปด้วย มันจึงส่งผลให้มิติของตัวละครดูเรียบแบนเกินไป ไม่มีจุดที่ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงหรือมีความรู้สึกร่วมไปกับตัวละครอย่างที่ควรจะเป็น
อีกหนึ่งข้อสังเกตสำคัญที่ส่งผลให้ความน่าสนใจของภาพยนตร์ลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือการที่ทีมสร้างตัดสินใจใช้วิชวลเอฟเฟกต์ในการสร้างฉากแอ็กชันมากเกินไปจนทำให้ความสมจริงของเรื่องถูกลดทอน
โดยหากย้อนกลับไปในผลงานก่อนหน้าอย่าง Shin Godzilla ที่เล่าถึงสิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์ถล่มเมือง และ Shin Ultraman ที่เป็นการต่อสู้ของมนุษย์ต่างดาว การใช้วิชวลเอฟเฟกต์ในการสร้างสรรค์ตัวละครและฉากแอ็กชันต่างๆ เพื่อเติมเต็มจินตนาการของทีมสร้าง จึงมีความสมเหตุสมผลและทำให้เราไม่รู้สึกติดขัดมากนัก
แต่สำหรับ Shin Kamen Rider แม้ว่าภาพยนตร์จะว่าด้วยเรื่องราวของมนุษย์ดัดแปลงที่ดูเกินจริงก็ตาม แต่มันก็ถูกวางให้อยู่ในสเกลของมนุษย์ บวกกับมนตร์เสน่ห์สำคัญที่สะดุดตาเรามาตั้งแต่ตัวอย่างคือ ‘ความสมจริง’ ของเรื่อง แต่หลังจากที่ภาพยนตร์ดำเนินมาถึงกลางเรื่อง ผู้กำกับกลับเลือกใช้วิชวลเอฟเฟกต์ในการสร้างฉากแอ็กชันเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะฉากแอ็กชันสุดท้ายที่ผู้กำกับเลือกใช้สถานที่เป็นอุโมงค์ ซึ่งมีบรรยากาศที่มืดเกินไปจนเรามองไม่ออกว่าเหตุการณ์ตรงหน้ากำลังเกิดอะไรขึ้นบ้าง มันจึงยิ่งทำให้ความสมจริงที่ควรจะเป็นจุดเด่นของเรื่องถูกลดทอนลงอย่างน่าเสียดาย